Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทัศนศิลป์หมายถึง

ทัศนศิลป์หมายถึง คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์

Read More »

คุณค่าของทัศนศิลป์

คุณค่าของทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยสายตา การรับรู้ทางการมองเห็นในแขนงจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ทำให้เกิดแรงกระตุ้นและตอบสนองทางด้านจิตใจพร้อมกันนั้นจิตใจของมนุษย์ก็เป็นตัวแปรค่าและกำหนดความงาม ความประณีต เรื่องราว และประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ การรับรู้คุณค่าของสิ่งเหล่านี้ รับรู้ได้ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกของแต่ละบุคคล ความงามและเรื่องราวจะเกิดมีคุณค่าก็เพราะการรับรู้ทางการมองเห็น เกิดความรู้สึกประทับใจ มีความอิ่มเอิบใจในคุณค่านั้นๆ สำหรับงานทัศนศิลป์ไม่ว่ารูปแบบใดย่อมมีคุณค่าในตัวของผลงานเอง

Read More »

สถาปัตยกรรม คืออะไร เจาะลึกการออกแบบก่อสร้าง อย่างครบวงจร

สถาปัตยกรรม (Architecture) คือ การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับการอยู่อาศัยของคนทั่วไป เช่น บ้าน อาคาร และคอนโด เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างที่คนไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ เช่น เจดีย์ สถูปและอนุสาวรีย์ เป็นต้น

Read More »

ภาพพิมพ์แกะไม้

ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์แกะไม้ (ภาษาอังกฤษ: Woodcut) คือศิลปะการพิมพ์แบบนูน (relief printing) โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ก่อน ส่วนที่จะปรากฏบนภาพพิมพ์จะเป็นระดับเดียวกับหน้าไม้ ส่วนอื่นที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ก็แกะลึกลงไปด้วยสิ่วร่อง ส่วนที่จะให้เป็น “สีขาว” ก็แกะออกไปด้วยมีดหรือสิ่วหน้าแบน เหลือไว้แต่ตัวแบบหรือรูปที่เป็น “สีดำ” ระดับเดียวกับพื้นผิวของหน้าไม้ รูปที่แกะจะแกะตามยาวของเนื้อไม้ซึ่งต่างจากการภาพพิมพ์ลายแกะไม้ (wood engraving) ในยุโรปไม้ที่ใช้จะเป็นไม้บีช ส่วนในประเทศญี่ปุ่นจะใช้ไม้เชอร์รี
เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น
ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า “การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้” (xylography) แต่มักจะไม่ใช้กันในการแกะที่แกะเฉพาะแต่ภาพแต่จะใช้สำหรับการแกะพิมพที่มีทั้งตัวหนังสือและภาพ

กระบวนการหลัก 4 ประการ ของวิธีการทำ ภาพพิมพ์แกะไม้

  1. แม่พิมพ์ผิวนูน ( Relief Process) ภาพพิมพ์แกะไม้
    เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์โดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูน เป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้กระดาษทาบปิด ลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่ รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Wood Engraving, Wood-Cut, Lion-Cut เป็นต้น
  2. แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio Process)
    เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ใช้หลักการตรงกันข้ามกับ Relief Process คือแม่พิมพ์มี ความนูนและร่อง ลึกเช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่สร้างให้เกิดเป็นรูป คือส่วนที่เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ ในการพิมพ์ต้องอุดหมึก ลงไปในร่องลึก และเช็ดผิวบนให้สะอาด แล้วจึงเอากระดาษปิดทับบนแม่พิมพ์ การพิมพ์ต้องอาศัยแท่น พิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อเอากระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมาได้ เทคนิคที่รวมกันอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Etching, Aquatint, Dry point, Messotint เป็นต้น
  3. แม่พิมพ์ผิวราบ ( Planographic Process )
    เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์มีผิวเรียบแบน แต่หลักของการพิมพ์อาศัยกฏเกณฑ์แห่ง ความไม่เข้ากันระหว่าง น้ำกับน้ำมัน แม่พิมพ์จะเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดมาก และมีผิวแบนเรียบ รูปที่ต้อง การจะเกิดจากการขีด เขียนหรือวาดระบายด้วยไข ในการพิมพ์ก่อนที่จะกลิ้งหมึกพิมพ์จะต้องใช้น้ำหล่อ เลี้ยงผิวของแม่พิมพ์ให้ชุ่มชื้น เมื่อกลิ้งหมึกพิมพ์ซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ที่เป็นไขจะติด บนรูปที่วาดด้วยไขเท่านั้น หมึกพิมพ์จะไม่ติดบนผิวหินส่วนที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ แล้วจึงนำเอากระดาษ มาปิดทับบนแม่พิมพ์รีดกดให้หมึกติดกระดาษ เกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการได้
  4. แม่พิมพ์ตะแกรงไหม ( Serigraphy) Silk-screen
    เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ ที่พัฒนามาจากวิธีการ Stencil ซึ่งเป็นวิธีสร้างรูปซ้ำๆ เหมือนๆ กันได้ หลายรูป โดยการเจาะกระดาษ หรือวัสดุอื่นให้เป็นรูปแล้วพ่น หรืออาบสีให้ผ่านช่องว่างลงไปติดเป็นรูป ที่ต้องการ สำหรับ Silk-screen แม่พิมพ์จะเป็นตะแกรงที่ละเอียดมาก ตะแกรงนี้จะช่วยยึดทั้งส่วนที่เป็น ช่องว่างและส่วนที่ทึบตันให้ติดเป็นแผ่นระนาบเดียวกัน วิธีการนี้ช่วยให้การสร้างแม่พิมพ์มีความ ละเอียด ประณีต และเมื่อพิมพ์ออกมารูปจะมีความคมชัดกว่า รวมทั้งพิมพ์ซ้ำๆได้ปริมาณมากกว่า ในการ พิมพ์จะใช้ยางที่มีหน้าตัดเรียบคม ปาดหมึกผ่านช่องว่างให้ลงไปติดบนแผ่นกระดาษ เกิดเป็นรูปที่ต้อง การได้ ภาพพิมพ์แกะไม้

บทความที่เกี่ยวข้อง