ทัศนศิลป์หมายถึง คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง
ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทาจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะนั้น
ทัศนศิลป์ เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ
ทัศนศิลป์ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Visual Art หมายถึง ศิลปะที่มองเห็น หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส รับรู้ ชื่นชมด้วยประสาทตา สัมผัสจับต้องได้ และกินเนื้อที่ในอากาศ
ทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม
ความสำคัญของทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์หมายถึง
ทัศนศิลป์หมายถึง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน เราพบเห็นความสามารถในผลงานของมนุษย์ ทั้งด้านความคิด ฝีมือ ที่ได้พยายามจินตนาการ คิดค้น เพื่อสนองความต้องการในการดำรงชีวิตประจำวัน ให้ทั้งประโยชน์ใช้สอย และสิ่งสวยงามประณีต เพื่อจรรโลงด้านจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ไว้ประดับโลก นอกจากนี้ยังต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกรับรู้ คล้อยตามชื่นชมไปด้วย
ลักษณะและประเภทของศิลปะ
ศิลปะเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก ยากที่จะตัดสิน หรือชี้เฉพาะเจาะจงไปได้ว่าเป็นอย่างไร ศิลปะบางชิ้นไม่สามารถจัดกลุ่ม จัดประเภทได้ ในขณะที่ผลงานศิลปะบางชิ้นเป็นผลรวมของศิลปะอีกหลายประเภทรวมกัน แต่เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา โดยทั่วไปแล้วเรามักจะจัดแบ่งศิลปะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- จิตรกรรม ภาพพิมพ์ (Painting and Printing)
- ประติมากรรม (Sculpture)
- สถาปัตยกรรม (Architecture)
- วรรณกรรม (Literature)
- ดนตรี (Music)
- นาฏศิลป์ (Drama)
งานศิลปะประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ยังจัดแบ่งย่อยได้อีกตามการรับรู้ค่าสุนทรีย์ เช่น ศิลปะที่รับรู้ด้วยการมองเห็น เรียกว่า ทัศนศิลป์ (Visual Art) ได้แก่ จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ศิลปะที่รับรู้ด้วยการได้ยิน เรียกว่า โสตศิลป์ (Audio Art) ได้แก่ วรรณกรรม ดนตรี ศิลปะที่รับรู้ได้ทั้งการมองและการได้ยิน เรียกว่า ศิลปะผสม (Audio Visual Art)
ความเป็นมาของงานจิตรกรรม
งานจิตรกรรมหรือการเขียนภาพ เป็นงานที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ง่าย ๆ แม้แต่เด็กก็สามารถได้รับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์มาตั้งแต่ระดับประถม เช่น วิชาวาดเขียน ศิลปศึกษา เพราะเพียงแต่มีกระดาษ ดินสอ สีต่าง ๆ ก็สามารถเขียนเป็นภาพได้ แสดงรูปแบบ เรื่องราว ตามที่ต้องการแสดงออกได้ ตามประสบการณ์ของแต่ละคน การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ถือว่าเป็นกิจกรรมหรือพฤติกรรมการแสดงออกที่ดีอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยเฉพาะงานจิตรกรรมนับเป็นงานทัศนศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุด ทั้งนี้เพราะได้พบภาพเขียนเก่าแก่ที่ผนังถ้ำอัลตามิระ (Altamira) ถ้ำลาสโค (Lascaux) อยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสติดต่อกับบริเวณตอนเหนือของสเปน
ความหมายของจิตรกรรม
จากความคิดของผู้รู้สรุปได้ว่า จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพ การเขียนภาพ ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำเอาวัสดุต่าง ๆ เช่น ดินสอ สี ปากกา และวัสดุอื่น ๆ มาขูด ขีด ลากเขียน ระบาย สลัด ป้าย ทา ฯลฯ ให้เกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง บนระนาบรองรับ เป็นเรื่องราวตามความคิดของศิลปินที่ต้องการแสดงออก ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงที่พบเห็นได้ หรือเรื่องราวจากจินตนาการ อันเป็นการสร้างสิ่งที่มองไม่เห็น ให้มองเห็นได้
จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพ ระบายสี
ประกอบด้วย
- จิตรกรรมวาดเส้น (Drawing)
- จิตรกรรมสีเดียว (Monochrome Painting)
- และจิตรกรรมหลายสี (Multi-Colour Painting)
เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้นระนาบ 2 มิติโดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสง เงา ฯลฯ สร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา มีความตื้น-ลึก ระยะใกล้-ไกล มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมว่า “จิตรกร”
ความหมายของทัศนธาตุ
ทัศนธาตุหมายถึงอะไร
ทัศนธาตุ (Visual Elements) ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้
ประกอบไปด้วย
- จุด
- เส้น
- รูปร่าง
- รูปทรง
- น้ำหนักอ่อน-แก่
- สี
- บริเวณว่าง
- และพื้นผิว
จุด (Dot) หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น และการนำจุดมาวางให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
เส้น (Line) เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้ เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฏเป็นรูปภาพ
เส้น (Line) หมายถึง การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด เขียน ลาก ให้เกิดเป็นริ้วรอย
- เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา
- เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน สบาย นุ่มนวล เย้ายวน
- เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย ขยายตัว มึนงง
- เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วง ๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย และการขัดแย้ง
- เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งคว่ำลง ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง เสียใจ แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น ก็จะให้ความรู้สึก อารมณ์ดี เป็นต้น ทัศนศิลป์หมายถึง