ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง
ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง ทัศนศิลป์ เป็นรูปแบบศิลปะ เช่น จิตรกรรม, การวาดเส้น, ภาพพิมพ์, ประติมากรรม, เซรามิก, การถ่ายภาพ, วิดีโอ, การสร้างภาพยนตร์, การออกแบบ, หัตถกรรม และสถาปัตยกรรม สาขาวิชาศิลปะมากมาย เช่น ศิลปะการแสดง ศิลปะเชิงแนวคิด และศิลปกรรมสิ่งทอ รวมถึงลักษณะทางทัศนศิลป์ ตลอดจนศิลปะประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงศิลปะประยุกต์ที่เป็นทัศนศิลป์ เช่น การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบกราฟิก การออกแบบแฟชั่น การออกแบบภายใน และศิลปะการตกแต่ง
ปัจจุบันการใช้คำว่า “ทัศนศิลป์” ได้รวมถึงวิจิตรศิลป์ เช่นเดียวกับศิลปะประยุกต์ หรือมัณฑนศิลป์ และงานฝีมือ แต่การใช้นี้จะไม่เสมอไป ทัศนศิลป์หมายถึง ด้วยก่อนที่การเคลื่อนไหวทางงานฝีมือ และศิลปะ ในบริเตน และที่อื่น ๆ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20 จะเกิดขึ้น เป็นหลายศตวรรษที่คำว่า ‘ศิลปิน’ มักถูกจำกัดไว้หมายถึงคนที่ทำงานในวิจิตรศิลป์ (เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม หรือภาพพิมพ์) เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงศิลปะการตกแต่ง งานฝีมือ หรือสื่อทัศนศิลป์ประยุกต์ ความแตกต่างนี้ได้ถูกเน้นยำโดยศิลปินในการเคลื่อนไหวทางงานฝีมือ และศิลปะ ซึ่งให้คุณค่าศิลปะพื้นเมืองเทียบเท่ากับศิลปะชั้นสูง โรงเรียนศิลปะ ได้สร้างความแตกต่างระหว่างวิจิตรศิลป์ และงานฝีมือ โดยยืนยันว่าช่างฝีมือไม่สามารถถือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพศิลปะได้
1. จิตรกรรม ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง
ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง จิตรกรรม (Painting) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบบไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่างๆ กัน
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
- การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือ เส้นใหญ่ๆ มักมีสีเดียว แต่การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลายๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด
- การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาดเส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
จิตรกรรมมีอะไรบ้าง งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
- ภาพทิวทัศน์ (Landscape Painting) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่ ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape) ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape) ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
- ภาพคน (Figure Painting) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่างๆ ของมนุษย์แบบเต็มตัว โดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า
- ภาพคนเหมือน (Potrait Painting) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคนๆ ใดคนหนึ่ง
- ภาพสัตว์ ( Animals Figure Painting) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ในลักษณะต่างๆ
- ภาพประกอบเรื่อง (Illustration Painting) เป็นภาพที่เขียนขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่างๆ
- ภาพหุ่นนิ่ง (Still Painting) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่างๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่
- ภาพจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) เป็นภาพเขียนที่เขียนไว้ตามผนังอาคาร โบสถ์ หรือวิหารต่างๆ ส่วนใหญ่จะแสดงเรื่องราวศาสนา ชาดก ประวัติของศาสดา กิจกรรมของพระมหากษัตริย์ บางแห่งเขียนไว้เพื่อประดับตกแต่ง
2. ประติมากรรม
ประติมากรรม คือ ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่างๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนดวิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ
- การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่เหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัวกันดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
- การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่แข็ง เปราะ โดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ เทียน ไม้ หิน กระจก ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
- การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็งตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ สำริด ปูน ขี้ผึ้ง เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ
- การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ
ประเภทของงานประติมากรรม
- ประติมากรรมแบบนูนต่ำ (Bas Relief) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูปจริง ได้แก่ รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
- ประติมากรรมแบบนูนสูง (High Relief) เป็นรูปต่างๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
- ประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief) เป็นรูปต่างๆ ที่มองเห็นได้รอบด้าน ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ รูปเคารพต่างๆ ภาชนะต่างๆ ฯลฯ
3. สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่างๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณการตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นงานศิลปะที่มีอายุยืนยาว
สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ที่นำมาเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นอย่างงดงาม สะดวกในการใช้งานและมั่นคงแข็งแรง
คุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้
- การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
- การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม
- การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน
จุดประสงค์ของการสร้างสถาปัตยกรรม ได้แก่
- เป็นที่อยู่อาศัย
- ใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว โดยมุ่งเน้นความสวยงามประกอบการใช้สอยภายในอาคาร เช่น โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา
- เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหรือสิ่งที่ควรแก่การยกย่อง โดยเน้นความงามอย่างวิจิตรพิสดาร เพื่อตอบสนองอารมณ์และจิตใจ ในด้านความเชื่อความศรัทธาต่อศาสนา
- เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนที่มีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยและที่พักในการทำพิธีต่างๆ
สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- สถาปัตยกรรมเปิด (Open Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน โรงแรม โบสถ์ ฯลฯ จึงต้องจัดสภาพต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ เช่น แสงสว่าง และการระบายอากาศ
- สถาปัตยกรรมปิด (Closing Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องมาจากความเชื่อถือต่างๆ จึงไม่ต้องการให้คนเข้าไปอาศัยอยู่ เช่น สุสาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ต่างๆ สิ่งก่อสร้างแบบนี้จะประดับประดาให้มีความงามมากน้อยตามความศรัทธาเชื่อถือ สถาปัตยกรรมเป็นงานทัศนศิลป์ที่คงสภาพอยู่ได้นานที่สุด
4.ภาพพิมพ์
ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์ (Graphic Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ กดให้ติดเป็นภาพ บนกระดาษจากแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ หรือแม่พิมพ์อื่นๆ ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านั้นศิลปิน ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง การพิมพ์ภาพนั้นจะต้องมีแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบอย่างสำหรับในการพิมพ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ นำมาเป็นแม่พิมพ์ได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ไม้ กระดาษ ไม้ก๊อก กระดุม ขวด ชิ้นเผือก เป็นต้น แต่วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์นั้นต้องมีร่องมีรอย ซึ่งจะเป็นร่องลึกมากหรือลึกน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะแบบอย่างหรือรูปแบบในการพิมพ์ การพิมพ์ภาพในขั้นตอนแรกจะ ต้องออกแบบหรือร่างแบบเสียก่อน เพื่อที่จะได้ภาพพิมพ์ที่สวยงามและถูกต้องตามแบบอย่างที่ต้องการ
ภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- พิมพ์ผิวนูน ( Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
- พิมพ์ร่องลึก ( intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
- พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
- พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น
คุณค่าของทัศนศิลป์
คุณค่าของทัศนศิลป์ ในการชื่นชมผลงานทัศนศิลป์ อันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม มักพิจารณาจากคติ ความเชื่อ ความนิยม และประโยชน์ใช้สอยหรือที่เรียกว่า คุณค่าทางศิลปะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ คุณค่าทางเรื่อวราว คุณค่าทางรูปทรง
คุณค่าทางเรื่องราว
หมายถึง คติความเชื่อ และความหมายที่แฝงอยู่ในผลงานศิลปะเป็นการบอกเล่าเนื้อหาและสาระสำคัญที่ผู้สร้างศิลปะต้องการถ่ายทอดและบอกกล่าว รวมถึง ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในแง่ต่างๆของศิลปกรรมนั้นๆ
คุณค่าทางเรื่องราวทางทัศนศิลป์ที่ทำกันพอประมวลได้ดังนี้
- เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อถือ ศรัทธา
- เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
- เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
- เรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
- เรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี
คุณค่าทางรูปทรง
หมายถึง เกณฑ์ความงดงามที่มีอยู่ในศิลปะ ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการประสานกันขององค์ประกอบทางความงามที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาที่ผู้สร้างผลงานศิลปะจินตนาการและออกแบบขึ้นด้วยความชำนาญ ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง