ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง ทัศนศิลป์ เป็นรูปแบบศิลปะ เช่น จิตรกรรม, การวาดเส้น, ภาพพิมพ์, ประติมากรรม, เซรามิก, การถ่ายภาพ, วิดีโอ, การสร้างภาพยนตร์, การออกแบบ, หัตถกรรม และสถาปัตยกรรม สาขาวิชาศิลปะมากมาย เช่น ศิลปะการแสดง ศิลปะเชิงแนวคิด และศิลปกรรมสิ่งทอ รวมถึงลักษณะทางทัศนศิลป์ ตลอดจนศิลปะประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงศิลปะประยุกต์ที่เป็นทัศนศิลป์ เช่น การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบกราฟิก การออกแบบแฟชั่น การออกแบบภายใน และศิลปะการตกแต่ง

ปัจจุบันการใช้คำว่า “ทัศนศิลป์” ได้รวมถึงวิจิตรศิลป์ เช่นเดียวกับศิลปะประยุกต์ หรือมัณฑนศิลป์ และงานฝีมือ แต่การใช้นี้จะไม่เสมอไป ด้วยก่อนที่การเคลื่อนไหวทางงานฝีมือ และศิลปะ ในบริเตน และที่อื่น ๆ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20 จะเกิดขึ้น เป็นหลายศตวรรษที่คำว่า ‘ศิลปิน’ มักถูกจำกัดไว้หมายถึงคนที่ทำงานในวิจิตรศิลป์ (เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม หรือภาพพิมพ์) เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงศิลปะการตกแต่ง งานฝีมือ หรือสื่อทัศนศิลป์ประยุกต์ ความแตกต่างนี้ได้ถูกเน้นยำโดยศิลปินในการเคลื่อนไหวทางงานฝีมือ และศิลปะ ซึ่งให้คุณค่าศิลปะพื้นเมืองเทียบเท่ากับศิลปะชั้นสูง โรงเรียนศิลปะ ได้สร้างความแตกต่างระหว่างวิจิตรศิลป์ และงานฝีมือ โดยยืนยันว่าช่างฝีมือไม่สามารถถือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพศิลปะได้

1. จิตรกรรม ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง จิตรกรรม (Painting) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบบไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่างๆ กัน

งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

  1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือ เส้นใหญ่ๆ มักมีสีเดียว แต่การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลายๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด
  2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาดเส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น

ลักษณะของภาพจิตรกรรม

จิตรกรรมมีอะไรบ้าง งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ

  1. ภาพทิวทัศน์ (Landscape Painting) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่ ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape) ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape) ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
  2. ภาพคน (Figure Painting) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่างๆ ของมนุษย์แบบเต็มตัว โดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า
  3. ภาพคนเหมือน (Potrait Painting) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคนๆ ใดคนหนึ่ง
  4. ภาพสัตว์ ( Animals Figure Painting) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ในลักษณะต่างๆ
  5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration Painting) เป็นภาพที่เขียนขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่างๆ
  6. ภาพหุ่นนิ่ง (Still Painting) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่างๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่
  7. ภาพจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) เป็นภาพเขียนที่เขียนไว้ตามผนังอาคาร โบสถ์ หรือวิหารต่างๆ ส่วนใหญ่จะแสดงเรื่องราวศาสนา ชาดก ประวัติของศาสดา กิจกรรมของพระมหากษัตริย์ บางแห่งเขียนไว้เพื่อประดับตกแต่ง

2. ประติมากรรม

ประติมากรรม คือ ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่างๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนดวิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ

  1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่เหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัวกันดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
  2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่แข็ง เปราะ โดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ เทียน ไม้ หิน กระจก ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
  3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็งตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ สำริด ปูน ขี้ผึ้ง เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ
  4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ

ประเภทของงานประติมากรรม

  1. ประติมากรรมแบบนูนต่ำ (Bas Relief) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูปจริง ได้แก่ รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
  2. ประติมากรรมแบบนูนสูง (High Relief) เป็นรูปต่างๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
  3. ประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief) เป็นรูปต่างๆ ที่มองเห็นได้รอบด้าน ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ รูปเคารพต่างๆ ภาชนะต่างๆ ฯลฯ

3. สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่างๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณการตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นงานศิลปะที่มีอายุยืนยาว
สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ที่นำมาเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นอย่างงดงาม สะดวกในการใช้งานและมั่นคงแข็งแรง

คุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้

  1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
  2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม
  3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน

จุดประสงค์ของการสร้างสถาปัตยกรรม ได้แก่

  1. เป็นที่อยู่อาศัย
  2. ใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว โดยมุ่งเน้นความสวยงามประกอบการใช้สอยภายในอาคาร เช่น โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา
  3. เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหรือสิ่งที่ควรแก่การยกย่อง โดยเน้นความงามอย่างวิจิตรพิสดาร เพื่อตอบสนองอารมณ์และจิตใจ ในด้านความเชื่อความศรัทธาต่อศาสนา
  4. เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนที่มีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยและที่พักในการทำพิธีต่างๆ

สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. สถาปัตยกรรมเปิด (Open Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน โรงแรม โบสถ์ ฯลฯ จึงต้องจัดสภาพต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ เช่น แสงสว่าง และการระบายอากาศ
  2. สถาปัตยกรรมปิด (Closing Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องมาจากความเชื่อถือต่างๆ จึงไม่ต้องการให้คนเข้าไปอาศัยอยู่ เช่น สุสาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ต่างๆ สิ่งก่อสร้างแบบนี้จะประดับประดาให้มีความงามมากน้อยตามความศรัทธาเชื่อถือ สถาปัตยกรรมเป็นงานทัศนศิลป์ที่คงสภาพอยู่ได้นานที่สุด

4.ภาพพิมพ์

ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์ (Graphic Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ กดให้ติดเป็นภาพ บนกระดาษจากแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ หรือแม่พิมพ์อื่นๆ ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านั้นศิลปิน ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง การพิมพ์ภาพนั้นจะต้องมีแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบอย่างสำหรับในการพิมพ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ นำมาเป็นแม่พิมพ์ได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ไม้ กระดาษ ไม้ก๊อก กระดุม ขวด ชิ้นเผือก เป็นต้น แต่วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์นั้นต้องมีร่องมีรอย ซึ่งจะเป็นร่องลึกมากหรือลึกน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะแบบอย่างหรือรูปแบบในการพิมพ์ การพิมพ์ภาพในขั้นตอนแรกจะ ต้องออกแบบหรือร่างแบบเสียก่อน เพื่อที่จะได้ภาพพิมพ์ที่สวยงามและถูกต้องตามแบบอย่างที่ต้องการ

ภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. พิมพ์ผิวนูน ( Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
  2. พิมพ์ร่องลึก ( intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
  3. พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
  4. พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น

คุณค่าของทัศนศิลป์

ในการชื่นชมผลงานทัศนศิลป์ อันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม มักพิจารณาจากคติ ความเชื่อ ความนิยม และประโยชน์ใช้สอยหรือที่เรียกว่า คุณค่าทางศิลปะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ คุณค่าทางเรื่อวราว คุณค่าทางรูปทรง

คุณค่าทางเรื่องราว

หมายถึง คติความเชื่อ และความหมายที่แฝงอยู่ในผลงานศิลปะเป็นการบอกเล่าเนื้อหาและสาระสำคัญที่ผู้สร้างศิลปะต้องการถ่ายทอดและบอกกล่าว รวมถึง ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในแง่ต่างๆของศิลปกรรมนั้นๆ
คุณค่าทางเรื่องราวทางทัศนศิลป์ที่ทำกันพอประมวลได้ดังนี้

  • เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อถือ ศรัทธา
  • เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
  • เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
  • เรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
  • เรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี

คุณค่าทางรูปทรง

หมายถึง เกณฑ์ความงดงามที่มีอยู่ในศิลปะ ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการประสานกันขององค์ประกอบทางความงามที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาที่ผู้สร้างผลงานศิลปะจินตนาการและออกแบบขึ้นด้วยความชำนาญ ทัศนศิลป์คืออะไร มีอะไรบ้าง

บทความแนะนำ